วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วิศวะคอม น่าสนใจขนาดไหน

วิศวะคอมพิวเตอร์

วิศวะคอม คืออะไร

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์  เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างเครื่องหรือระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ ศาสตร์นี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์การสื่อสาร และความเกี่ยวเนื่องระหว่างเรื่องทั้งสาม หลักสูตรการเรียนมุ่งเน้นทางด้าน ทฤษฎี กฎ และ การฝึกฝนปฏิบัติของทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์รวมถึงการประยุกต์เข้ากับปัญหาทางด้านการออกแบบคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์
วิศวกรคอมพิวเตอร์ ศึกษาการออกแบบระบบฮาร์ดแวร์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสาร องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์จะเรียนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ดิจิทัล และ การสร้างส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ และ ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งความรู้ทางด้านวิศวกรรมที่ดีด้วย
ปัจจุบันสาขาวิชาที่สำคัญในด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คือ ระบบฝังตัว การพัฒนาอุปกรณ์ที่มีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ฝังตัวภายใน เช่น อุปกรณ์สื่อสารอย่าง โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นวิทยุระบบดิจิทัล เครื่องบันทึกวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล ระบบเตือนภัย เครื่องถ่ายรังสีเอกซ์ และ เครื่องมือผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องการการผนวกรวมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ฝังตัวหรือของอื่น ๆ ที่เป็นผลจากการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นหนึ่งในห้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร และ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

      ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิศวะคอม

1.  จบวิศวคอมมาต้องซ่อมคอมได้ใช่มั้ย,อยากเรียนซ่อมคอมมาเรียนวิศวะคอมดีกว่า ?              นั่นมันเป็นความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวงครับ จบมาไม่ใช่ว่าจะซ่อมได้ครับ แต่วิศวะคอมจะสอนให้รู้จักการคิดเป็นและคิดอย่างมีระบบ มีเหตุและมีผล วิเคราะห์ระบบต่างๆ ส่วนเรื่องทักษะการซ่อม,Overclock ต่างๆ ต้องเรียนรู้กันเอาเองครับ

2.  ชอบเขียนเว็บ กราฟฟิก โฟโต้ช๊อบ 3D ทำเวป เรียนวิศวะคอมดีกว่า ?         ไม่มีสอนโดยตรงนะครับ บางที่อาจจะมีบ้าง เรือง Graphic,Animation แต่ก็ไม่ได้ลงลึกอะไรมาก ก็ต้อง เรียนรู้เองอีกเช่นกัน

3.  วิศวะคอม ไม่มี ?ใบประกอบวิชาชีพ?          หลายคนคงเคยได้ยินมาว่า จบวิศวะแล้วจะได้ใบประกอบวิชาชีพ แต่ สำหรับ วิศคอมพิวเตอร์ และสาขาทางไอทีทุกสาขาไม่มี ใบประกอบวิชาชีพ ครับ คือ มันไม่ได้เป็นวิชาชีพ แต่มันคือความรู้ที่เราเรียนมาเพื่อนำไปประกอบอาชีพเท่านั้น เนื่องจากมันไม่ได้จบไปแล้วทำงานตายตัวเหมือนคณะ สาขาอื่น
          แต่ จริงๆแล้ว ทางสายไอที จะมีกระดาษแผ่นหนึ่ง ที่เขาเรียกว่า ใบCert หรือ ถ้าเรียกแบบไทยๆ ก็ ใบ เซ่อ(ไม่ได้มาจากคำว่า เซ่อร์ซ่า นะ ) หรือ ถ้าภาษาอังกฤษ เขาใช้คำว่าCertification คล้ายๆใบประกอบวิชาชีพนั่นแหล่ะ  โดย เจ้าใบ Cert  นี้ เราจะต้องสอบเพื่อเป็นการการันตีว่า เรารู้ในเรื่องนั้นๆอย่างลึกซึ้ง เช่น ใบ Cert ของ JAVA   เพื่อการันตีว่า เรามีความรู้ในเรื่องของ Java Programing จริงๆ (เสียเงินค่าไปสอบเองนะ เหมือน TOELF TOEIC)

4.  ชอบเขียนโปรแกรมมากๆ  เรียนวิศวะคอมดีกว่า ?          จริงอยู่ว่าวิศวะคอม มีเรียนเขียนโปรแกรม แต่ถ้าชอบเขียนโปรแกรมอย่างเดียว ไม่อยากเรียนสายอื่น แนะนำว่าไปเรียน IT  หรือ วิทยาการคอมพิวเตอร์(CS)  จะดีกว่าครับ ไม่งั้นอาจจะต้องเจอวิชาบทโหดของวิชาวิศวะมากมาย เช่น   Drawing , Workshop , Material , Circuit , Digital , Signal ฯลฯ (ปล. วิศวะคอม บางมด ไม่มี Drawing , Workshop , Material นะครับ )

5. สังคมไทย ยกย่องว่า ถ้าจะทำงานได้เงินเดือนสูงๆในสายไอที ต้องจบ วิศวะคอม เท่านั้น!!! ?             อย่างที่กล่าวไปหลายรอบแล้วว่า สังคมไทย ยกย่อง สายวิศวะเป็นอย่างมาก แต่ความเป็นจริงที่ พวกเราควรรู้อีกข้อก็คือในไทยเรา ไม่ว่าจะจบ วิศวะ วิทยา หรือสายอื่นใด ในสายไอที  การทำงาน มักเกี่ยวเนื่องหรือซ้อนทับกัน เนื่องจาก อุตสาหกรรมในสายไอทีบ้านเรา เน้นไปทางด้านซอฟท์แวร์ หรือ การเขียนโปรแกรม ที่เป็นสายทางทั่วๆไป ของไอที ไม่เน้นเฉพาะ วิศวะคอม วิทยาคอม เท่านั้น

6.  ไม่รู้จะเรียนอะไร เข้าวิศวะคอมละกัน + ตามเพื่อน + ตามกิ๊ก + ตามแฟน + ตามแฟนเก่า ?             เหตุผลตามข้อ 4. เลยครับ ถ้าไม่ได้ชอบ อย่าเรียนดีกว่าครับ เสียเวลาครับ อาจจะต้องตกนรกไปถึง ๔ ปีทีเดียว  เรียนตามที่ตัวเองชอบดีที่สุดครับ

            

           การศึกษา

       งานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ระดับขั้นต้นส่วนใหญ่ต้องการอย่างน้อยปริญญาตรีวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ บางครั้งปริญญาวิศวกรรมไฟฟ้าก็ได้รับการยอมรับ เนื่องจากความคล้ายคลึงกัน ของทั้งสองสาขา เพราะวิศวกรฮาร์ดแวร์ทั่วไปได้ทำงานกับระบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ พื้นหลัง ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์มักจะเป็นสิ่งจำเป็น จากสถาบันสถิติแรงงานของสหรัฐฯ "เมเจอร์ของวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คล้ายกับวิศวกรรมไฟฟ้า แต่ก็มีบางหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ถูกเพิ่มเข้าไปในหลักสูตร"บางบริษัทขนาดใหญ่หรืองานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญพิเศษต้องการระดับปริญญาโท นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับวิศวกรคอมพิวเตอร์ ที่จะต้องตามให้ทันกับความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในเทคโนโลยี ดังนั้นจึงต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดอาชีพของพวกเขา


      อาชีพและสาขาที่คล้ายคลึง


      หลักสูตรการเรียนการสอนสาขาวิศวะคอมพิวเตอร์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น